ปัญหาฝุ่นควันพิษเป็นปัญหาสำหรับประเทศไทย ที่รัฐบาลกำลังมุ่งมั่นแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชน หนึ่งในสาเหตุของปัญหามาจากการเผาวัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตร ทั้งตอซังข้าว ใบไม้แห้ง รวมถึง การจุดไฟเผาใบอ้อยก่อนตัดนำส่งโรงงานน้ำตาล ของชาวไร่ ******จากปัญหาดังกล่าว รศ.ดร.ศุภสิทธิ์ คนใหญ่ ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาค2 จึงจัดโครงการสร้างชุมชนต้นแบบเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากใบอ้อยและเถ้าชานอ้อย ด้วยการให้ความรู้ในการผลิตถ่านอัดแท่งให้กับชาวไร่อ้อย ตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยแหล่งใหญ่ของจังหวัด โดยสาธิตการใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่นเตาเผาแบบไพโรไลซิส,เครื่องปั่นผสมและเครื่องอัดแท่งเป็นต้น โดยมีเกษตรกรชาวไร่อ้อยสนใจเข้าร่วมชมการสาธิตกว่า100คน ******สำหรับขั้นตอนการผลิตถ่านอัดแท่ง เริ่มต้นด้วยการนำใบ้อ้อย,กิ่งไม้,กะลา และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่างๆบรรจุเข้าไปในเตาเผา จากนั้นจุดไฟโดยใช้น้ำมันใช้แล้ว เป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อนเข้าไปเพิ่มอุณหภูมิภายในเตาเพื่อให้วัสดุในเตาคายซินแก๊ส จนกลายเป็นถ่าน จากนั้นนำถ่านที่ได้มาบดเป็นผงแล้วผสมน้ำและมันสำปะหลัง นำเข้าเครื่องอัดเป็นแท่งตามขนาดที่ต้องการ แล้วนำมาตากแดด 3-5วัน ก็สามารถนำมาใช้งานหรือบรรจุเพื่อจำหน่ายได้ ราคา ก.ก.ละ 20-30บาท ซึ่งแตกต่างจากโรงงานน้ำตาลที่รับซื้อจากชาวไร่อ้อยในราคาเพียง ก.ก.ละ 80 สตางค์เท่านั้น จะถือเป็นการเพิ่มมูลค่าเป็นอย่างมากและคุณสมบัติของถ่านอัดแท่งนี้จะให้ความร้อนดี การเผาไหม้ช้า จึงไม่สิ้นเปลือง
ธนกฤต ท้าวบุญยืน/สุโขทัย
084-2477588
แสดงความคิดเห็น