เมื่อวันที่ 16 ต.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากผู้ปกครองในจ.ระยอง ว่า เยาวชน เด็กนักเรียน เข้าไปเล่นคีบตุ๊กตา กันจำนวนมาก โดยเฉพาะภายในห้างสรรพสินค้าของระยอง ที่วางกันเกลื่อนกราด นับร้อยตู้ เสียเงินไปเปล่าประโยชน์ บางรายถึงกับหลอกเงินพ่อแม่ไปเล่น แต่กลับไี้การตรวจสอบ เพราะถือเป็นการพนันชนิดหนึ่ง และ เป็นการมอมเมาเยาวชน จากการสอบถามผู้ดูแลตู้คีบตุ๊กตา กลับอ้างและบิดเบือนว่า “ตู้คีบตุ๊กตาไม่ผิดกฎหมาย” ทำให้ตู้คีบตุ๊กตามาเปิดกันอย่างโจ๊งครึ่ม
สำหรับตู้คีบตุ๊กตาหยอดเหรียญแพร่ระบาดไม่แตกต่างจาก ตู้ม้าไฟฟ้า หรือตู้สลอต เมื่อสิบปีก่อน อย่างไรก็ดี ตู้คีบตุ๊กตาหยอดเหรียญมีความผิดกฎหมายการพนัน เนื่องจากใช้เงินที่หยอดมีมูลค่าน้อยกว่ารางวัลในตู้ มีการแพ้ชนะระหว่างผู้เล่นกับเครื่อง (หรือเจ้าของเครื่องที่ได้กำไร) ชี้ชัดว่าไม่ได้เล่นเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินเท่านั้น แต่ลักษณะเป็นการพนัน เดิมที่ตู้คีบตุ๊กตานิยมตั้งตามห้างสรรพสินค้าศูนย์การค้าต่างๆและยังแพร่ระบาดเข้าสู่ชุมชนวางตามหน้าร้านสะดวกซื้อ เรียกว่าเข้าถึงทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะเป้าหมายกลุ่มเด็กและเยาวชน
ในพื้นที่จังหวัดระยองได้มีการวางตู้คีบตุ๊กตาตามห้างสรรพสินค้า บริเวณหน้าโรงหนัง สวนอาหาร หน้าห้องน้ำ ทางออกของห้าง สวนสนุกเด็กเล่นและยังวางตามหน้าร้านสะดวกซื้อในชุมชนเป็นจำนวนมาก ทำให้เด็ก เยาวชน และนักเรียนมั่วสุมหยอดเงิน กด โยก ตุ๊กตาตามตู้ต่างๆ โดยไม่มีจนท.เข้าไปกวดขันจับกุมตู้คีบแต่อย่างใด ปล่อยให้มีการเล่นอย่างโจ๋งครึ่มไม่มีการควบคุมอายุของผู้เล่น ไม่เกรงกลัวกฎหมาย
นอกจากนี้ ยังพบมีเด็กและเยาวชนเข้าเล่นเป็นจำนวนมาก และไม่พบใบอนุญาตให้สามารถเล่นการพนันตู้คีบตุ๊กตาได้ รวมถึงพบข้อความเพื่อบิดเบือนความจริง เช่น ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ สินค้านี้ไม่ใช่เครื่องมือการพนัน มีไว้เพื่อการขายสินค้าเท่านั้น และข้อความบอกลักษณะของตู้คีบถูกและผิดกฎหมาย เพื่อหลอกให้ผู้เล่นสับสนและเข้าใจผิด
ด้านนายพลวัจน์ นรสาร ทนายความชื่อดัง เปิดเผยว่า ตู้คีบตุ๊กตา” มี 2 ประเภท ทั้ง “ผิดกฎหมาย” และ “ไม่ผิดกฎหมาย” จำแนกตามคุณลักษณะที่กระทรวงมหาดไทยระบุไว้ ซึ่งผิดกฎหมายเสียเป็นส่วนใหญ่ และต้องไม่ลืมว่าตู้คีบตุ๊กตาหยอดเหรียญสามารถ “โกยกำไรมหาศาล” แน่นอนว่า เบื้องหลังของผู้ประกอบธุรกิจประเภทนี้ย่อมไม่ธรรมดา ต้องมี “คอนเนกชัน” อันดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่เช่นนั้น คงไม่สามารถประกอบกิจการในลักษณะนี้ได้ ฉะนั้นการปราบปรามตู้คีบตุ๊กตาหยอดเหรียญ คงต้องฝากความหวังไว้กับของหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแลต้องปฏิบัติตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยอย่างเข้มงวด เพื่อตัดวงจรธุรกิจสีเทาและยับยั้งไม่ให้เด็กและเยาวชนตกเป็นเหยื่อการพนันโดยไม่รู้ตัว
ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้มีนโยบายไม่อนุญาตให้มีการเล่นเครื่องเล่นตู้คีบตุ๊กตาที่เป็นการพนันในบัญชี ข. หมายเลข 28 ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2474 พร้อมทั้งให้ดำเนินการจับกุมและปราบปรามอย่างเฉียบขาดกับผู้ฝ่าฝืนนั้น ปรากฏว่าปัจจุบันตามห้างสรรพสินค้าและร้านค้าต่างๆ มีผู้ประกอบการนำตู้คีบสินค้ามาติดตั้งให้ประชาชนทั่วไปใช้บริการเป็นจำนวนมาก โดยตู้คีบข้างต้นมีทั้งตู้คีบที่มีลักษณะเข้าข่ายและไม่เข้าข่ายการพนัน
โดยประเภทที่ “เข้าข่ายเป็นเครื่องเล่นการพนัน” นั้น ผู้เล่นจะต้องแลกเหรียญมูลค่าเหรียญละ 10 บาท จากนั้น นำไปหยอดที่ช่องและจับคันโยกเลื่อนหาตำแหน่งเพื่อคีบตุ๊กตา จากนั้น กดปุ่มเพื่อให้ที่คีบตุ๊กตาปล่อยตุ๊กตาลงช่อง โดยการเล่นในแต่ละครั้งผู้เล่นอาจจะได้หรือไม่ได้ตุ๊กตา จึงถือเป็นการพนัน เพราะมีการแพ้ชนะกันระหว่างผู้เล่นกับเจ้าของเครื่อง การจัดให้มีการเล่นต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตก่อนจึงจะเล่นได้ ตู้คีบตุ๊กตาผิดพ.ร.บ.การพนันบัญชี ข ในปี 2563 กระทรวงมหาดไทยมีนโยบายไม่อนุญาตให้มีการเล่นเครื่องเล่นจู้คีบตุ๊กตาที่เป็นการพนันในบัญชี ข เลขที่ 28 พร้อมทั้งให้ดำเนินการและปราบปรามอย่างเฉียบขาดกับผู้ฝ่าฝืน หากฝ่าฝืนเป็นความผิดตามมาตรา 12 (2) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ตู้คีบตุ๊กตายังเป็นตู้สินค้านำเข้าจากต่างประเทศโดยไม่มีการเสียภาษีจนท.ศุลกากรต้องตรวจยึดและดำเนินคดีเจ้าของธุรกิจตู้คีบตุ๊กตาดังกล่าวทั้งหมดด้วยดังนั้นจึงฝากนายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองให้จนท.ฝ่ายปกครองกวดขันจับกุมกวาดล้างแหล่งอบายมุขมั่วสุมที่เข้าข่ายการพนันทั้งหมด
แสดงความคิดเห็น