ที่โดมแก้วเจ้าจอม วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา เดินทางมาเป็นประธานเปิดการประกวดสุดยอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา ครั้งที่ 35 ประจำปีการศึกษา 2567

  โดยมี นายอัศวิน ข่มอาวุธ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคแพร่ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนวัตกรรมและเทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา ระดับภาค (ภาคเหนือ) นางอัญชลี วัฒนาสกุลเกียรติ ศึกษาธิการจังหวัดอุตรดิตถ์ ดร.ปรีชา ภู่สมบัติขจร ผอ.วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์ ดร.บัณฑิตย์ สิงห์ช่างชัย ผอ.วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ นายกิตติ เพื่อนฝูง ผอ.วิทยาลัยสารพัดช่างอุตรดิตถ์ พร้อมด้วยผอ.อาชีวศึกษาภาคเหนือ 17 แห่ง ผู้แทนสถานประกอบการ ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะผู้บริหารสถานศึกษา แขกผู้มีเกียรติ ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนนักศึกษา ให้การต้อนรับในพิธีเปิด ในวันนี้

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีนโยบายในด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษา ยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม การวิจัย และสิ่งประดิษฐ์ ที่เกิดจากการบูรณาการองค์ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาชีพ เพื่อสร้างสรรค์ พัฒนาผลงานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ให้มีมาตรฐานและบูรณาการนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ และองค์ความรู้สู่ชุมชน สังคม ประเทศชาติ รวมทั้งมีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการสร้างทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ภายใต้กิจกรรมการประกวดสุดยอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง 2. เพื่อพัฒนาทักษะการเป็นนักคิด นักประดิษฐ์ โดยนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และทักษะวิชาชีพ ในการสร้างผลงานสิ่งประดิษฐ์ 3. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนสายอาชีพ มีทักษะการเรียนรู้ เป็นนวัตกรรม ผู้สร้างนวัตกรรม และมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 4. เพื่อคัดเลือกผลงานสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ เป็นตัวแทนไปเข้าร่วมการแข่งขันในระดับชาติ ต่อไป  

การประกวดสุดยอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา ครั้งที่ 35 ประจำปีการศึกษา 2567 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 – 9 มกราคม 2568 ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา พร้อมด้วยคณะกรรมการขับเคลื่อนนวัตกรรมและเทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์ ภาคเหนือ เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานมีผลงานสิ่งประดิษฐ์จากสถานศึกษาต่าง ๆ ที่ผ่านการประกวด ระดับกลุ่มจังหวัด 8 กลุ่มจังหวัด  

เข้าร่วมทั้งสิ้น 163 ผลงาน จาก 7 ประเภท ดังนี้ ประเภทที่ 1 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรหรือเทคโนโลยี อุตสาหกรรมสมัยใหม่ จำนวน 24 ผลงาน ประเภทที่ 2 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ จำนวน 21 ผลงาน ประเภทที่ 3 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานสิ่งแวดล้อม จำนวน 24 ผลงาน ประเภทที่ 4 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีอาหาร จำนวน 24 ผลงาน ประเภทที่ 5 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (HEALTH CARE) จำนวน 24 ผลงาน ประเภทที่ 6 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ จำนวน 24 ผลงาน ประเภทที่ 7 สิ่งประดิษฐ์ประเภทกำหนดโจทย์ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นไทย (Thai Fashion) จำนวน 22 ผลงานนอกจากนี้ ในงานได้มีการจัดนิทรรศการผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม จากสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ รวมถึงนิทรรศการของสถานประกอบการที่ได้พัฒนาผลงานจนเป็นนวัตกรรมและนำออกสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นต้นแบบที่สถานศึกษาจะต้องขับเคลื่อนต่อไป 









ณัฐวัฒน์ ราชประสิทธิ์ ภาพ/ข่าวอุตรดิตถ์ 0612928668



แสดงความคิดเห็น