วันนี้ 20 ม.ค.68 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายนิพล  หล้าช่าง  แกนนำกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง อ.ไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี  นำเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง อำเภอไทรโยค กว่า 100 ราย พร้อมรถเครื่องขยายเสียง รถบรรทุกมันสำปะหลัง พร้อมเสบียงประกอบอาหาร และเต้นท์เข้าไปยังหน้าที่ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี  เพื่อยื่นหนังสือให้กับนายพิชัย  นริพทะพันธุ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  โดยผ่านนายอธิสรรค์  อินทร์ตรา ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี  เรียกร้องขอให้กระทรางพาณิชย์เปิดจุครับขึ้นหัวมันสำนักปะหลัง ในพื้นที่ อำเภอไทรโยค จำนวน 10 จุด ให้เร็วที่สุด
เมื่อกลุ่มเกษตรกรมาถึง ได้ช่วยกันนำเต้นท์มาติดตั้งที่บริเวณลานด้านข้างเสาธงชาติ หน้าศาลากลาง โดยมีรถกระบะบรรทุกหัวมันสำปะหลัง 1 คัน และติดตั้งเครื่องขยายเสียงเอาไว้ให้เกษตรกรผลัดเปลี่ยนกันขึ้นปราศรัยถึงความเดือดร้อยของแต่ละราย รวมถึงนำอุปกรณ์ สำหรับประกอบอาหารเลี้ยงและน้ำดื่มที่สามารถอยู่ได้ตลอดทั้งคืนอีกด้วยด้วย โดยได้ยกกันไปทั้งครอบครัว เพื่อปักหลักสู้บอกว่าไม่มีถอย วันนี้มาทวงถามไม่ใช่ม็อบ แต่หากยังไม่ได้ยังที่ต้องการวันนั้นจะยกระดับขึ้นต่อไป
โดยในครั้งนี้นายอธิสรรค์  อินทร์ตรา ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ได้มอบหมายให้ว่าที่ ร.ต.ศุภมงคล บูชาถ่ายเทศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นตัวแทนรับมอบหนังสือ มีนายบรมัตถ์พงษ์  พลเยี่ยม พาณิชย์จังหวัดกาญจนบุรี  นายเนรมิต เหลืองอร่ามฟ้า นายอำเภอไทรโยค นายกรกรณ์  อึ๊งภากรณ์ ผอ.ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดกาญจนบุรี เข้าเจรจากับแกนนำและกลุ่มผู้ปลูกมันสำปะหลัง มีนายสุวัฒนา ม่วงหวาน  ป้องกันจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมเจ้าหน้าที่ อส.และเจ้าหน้าที่ ตร.สภ.เมืองกาญจนบุรี คอยอำนวยความสะดวกและป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงขึ้น ซึ่งการเจรจาทุกอย่างนั้นผ่านไปด้วยดี โดยแกนนำกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ได้แจ้งว่าหากวันนี้ไม่ได้ตามข้อเรียกร้อง อาจจมีความจำเป็นจะต้องกดันด้วยการพักค้างคืนที่ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี  โดยได้ยกกันไปทั้งครอบครัว เพื่อปักหลักสู้บอกว่างานนี้ไม่มีถอย วันนี้มาทวงถามไม่ใช่ม็อบ แต่หากยังไม่ได้ยังที่ต้องการวันนั้นจะยกระดับขึ้นต่อไป

โดย นายนิพล หล้าช่าง แกนนำกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง อ.ไทรโยค กล่าวว่า สำหรับข้อเรียกร้องของกลุ่มเกษตรกรฯ มีด้วยกัน 4 ข้อ ดังนี้ 

1. ขอให้กระทรวงพาณิชย์ นำโรงแป้งนอกจังหวัดมารับชื้อ ตามจุดรับซื้อทั้ง 10 จุด โดยให้รับซื้อของอำเภอไทรโยคครบทุกจุดพร้อมกัน เพื่อจะช่วยให้ชาวไร่มันสามารถที่จะใช้รถกระบะเล็กบรรทุกหัวมันสำปะหลังไปขายได้สะควกในจุดที่อยู่ใกล้ๆ ไม่ใช่มาเปิด แค่เพียงบางจุดเท่านั้น แต่เกษตรกรไม่สามารถที่จะใช้กระบะเล็กวิ่งไปขายได้ เพระอยู่ห่างไกลมาและเป็นพื้นที่ภูเขาสูง ทำให้เกษตรกรวิ่งไปไม่ถึง  จึงจำเป็นต้องมีการเปิดทุกตำบล ในพื้นที่อำเภอไทรโยค และขอให้รัฐบาลช่วยรับซื้อจำนวน 100,000 ตันในระยะเวลา 50 วัน เพื่อแบ่งเบาความเดือดร้อนของเกษตรกรในอำเภอไทร ที่ราคามันสำปะหลังตกต่ำมากที่สุดในประประเทศไทย

2.ขอให้มีการรับซื้อที่ ราคา กก.ละ 2.20 บาท/กก. เชื้อแป้ง 25% โดยไม่หักจากเกษตรกร เกษตรกรจะต้องได้ราคาเต็ม ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศกำหนดราคาเอาไว้ที่จุดรับซื้อทุกจุด โดยกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเองทั้งหมด ถ้าหากต่ำกว่านี้เกษตรกรจะขาดทุนมาก                                                                                                                                              3.ขอให้กระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนดวันเปิดรับซื้อโดยเร็วที่สุด ภายในเดือน มกราคม 2568 นี้ เพรายเกษตรกร เดือดร้อนจะต้องขุดมันสำปะหลังไปขายเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว และต้องใช้หนี้สินต่างๆอีกมากมาย 

และ 4.ขอให้ผ่อนปรนให้เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลัง ที่ไม่ได้ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร สามารถปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรได้ทันที หรือยกเว้นการใช้ทะเบียนเกษตรมาใช้การเข้าร่วมโครงการขายมันสำปะหลังในโครงการนี้

ข้อเรียกร้องทั้ง 4 ข้อ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง จะต้องได้รับคำตอบที่ชัดเจนจากนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  ภายในวันที่ 24 ม.ค.68 นี้ หากไม่ได้รับคำตอบครบทุกข้อเรียกร้อง เกษตรกรจะไม่สามารถขุดมันสำปะหลังออกมาขายได้ จะทำให้ทุกคนเดือดร้อนเป็นอย่างมาก อนาคตในเร็วนี้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง อ.ไทรโยค และจังหวัดกาญจนบุรี จำเป็นจะต้องรวมตัวเดินทางไปกดดันที่ทำเนียบรัฐบาลอย่างแน่นอน 

ด้าน นายบรมัตถ์พงษ์   พลเยี่ยม พาณิชย์จังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า ขณะนี้พาณิชย์จังหวัดกาญจนบุรีกำลังรอคำสั่งให้เปิดจุกรับซื้อมันสำปะหลังจากเกษตรกรชาวอำเภอไทรโยค จุดไหนพร้อมก็จะเปิดไปก่อน ปัจจุบันจุดรับซื้อที่มีความพร้อมมีอยู่ประมาณ 3-4 จุด แต่ประเด็นก็คือเกษตรกรร้องขอซื้อขายในราคา กิโลกรัมละ 2.20 บาท แต่โครงการของเรานั้นได้ให้แค่ กิโลกรัมละ 2 บาทเท่านั้น ซึ่งโครงการของเรานั้นมีเงินอยู่แล้วและผู้ประกอบการก็พร้อมที่จะรับซื้อในราคานี้ แต่เราก็เข้าใจต้นทุนของเกษตรกรอยู่แล้วว่ามีต้นทุนสูงถึง 1,800-2,100 บาท  เมื่อเกษตรกรขายได้ในราคาตันละ 2,000 บาทมันจึงมีความหมิ่นเหม่ที่จะขาดทุน

ถามว่าหากรับซื้อในราคาตันละ 2000 บาท เกษตรกรจะยอมหรือไม่นั้น เรื่องนี้จะต้องไปคุยกับทางอำเภออีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ทางอำเภอร่วมตรวจสอบหาเกษตรกรผู้เดือดร้อนที่ต้องการใช้เงินก็จะรับซื้อให้ ส่วนเกษตรกรรายใดที่ยังไม่รีบใช้เงิน หรือยังไม่อยากขายในราคานี้ก็อยากให้เกษตรกรรายนั้นๆรอไปสักระยะก่อน เพราะเพื่อมีมาตรการณ์ลงมาก็จะมีการรับซื้อที่สูงขึ้น

ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา   ไหลวารินทร์

 

แสดงความคิดเห็น