การพัฒนาท้องถิ่นตามระบอบประชาธิปไตย ยึดหลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงปวงชน หลักสิทธิและเสรีภาพของประชาชน หลักความเสมอภาค หลักการปกครองโดยกฎหมายและหลักนิติธรรม และหลักการเสียงข้างมาก องค์กรท้องถิ่นที่มีสถานะเป็น "องค์กรของรัฐ"ให้เป็น "องค์กรภาคสังคม" ที่มีความสามารถในการร่วมมือปฏิบัติงานกับทุกกลุ่มในชุมชน เร่งส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ แก้ไขปัญหา การเมืองท้องถิ่นเป็นพื้นที่ทางการเมืองที่เกี่ยวกับภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ล้วนมีส่วนร่วมในการจัดสรรสิ่งมีคุณค่าในท้องถิ่น โดยมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน อาจมีทั้งความร่วมมือ ความขัดแย้งและมีการประนีประนอม เพราะการปกครองท้องถิ่นเปรียบเสมือนสถาบันฝึกอบรมประชาชน ให้มีความเข้าใจในกระบวนการและกลไกทางการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยเพราะจะช่วยให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ และเกิดความเข้าใจในระบบการมืองมากขึ้น
เฉกเช่นนายเกรียงไกร กิตติไพศาลศิลป์ (เสี่ยเค้ง) ประธานสภาเทศบาลตำบลเมืองแกลง/หรือสมาชิกเทศบาลตำบลเมืองแกลง จ.ระยอง ที่หันมาเล่นการเมืองท้องถิ่น ซึ่งชาวบ้านได้คัดเลือกเข้าไปเป็นปากเป็นเสียงในสภาเทศบาลตำบลเมืองแกลง เพื่อสรรหางบประมาณเข้ามาพัฒนาในท้องถิ่น จนเห็นได้ว่าในเขตเทศบาลตำบลมืองแกลงนั้นมีความเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด ทั้งทางด้านสาธารณูปโภค การจัดการบริหารการเมืองท้องถิ่น จนชาวบ้านในพื้นที่ยอมรับในการพัฒนาของเทศบาลตำบลเมืองแกลงนายเกรียงไกร กิตติไพศาลศิลป์ ประธานสภาเทศบาลตำบลเมืองแกลง/หรือสมาชิกเทศบาลตำบลเมืองแกลง กล่าวว่าตนเองได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลเมืองแกลงและได้รับคัดเลือกเป็นประธานสภา ดังนั้นสภาจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะผลักดันด้านงบประมาณพัฒนาท้องถิ่น และในฐานะที่ตนเองเป็นประธานสภาเทศบาลตำบลเมืองแกลงนั้นก็ได้อนุมัติงบประมาณผ่านสภาเพื่อไปพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลตำบลเมืองแกลงนับหลายล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นการจัดสร้างด้านสาธารณูปโภคต่างๆให้กับชุมชน พัฒนาด้านการศึกษา สร้างอาคารเรียน จัดซื้ออุปกรณ์การเรียนต่างๆ เพราะถือว่าเด็กและเยาวชนเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นหรือพัฒนาประเทศให้มีความเจริญต่อไป
แสดงความคิดเห็น