คณะกรรมการกองทุนกำลังใจฯ ติตตามผลการดำเนินงานตามโครงการกำลังใจฯ ณ ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567 พลอากาศเอก สมคิด สุขบาง กรมวังผู้ใหญ่ประจำพระองค์ 908 และรองประธานคณะกรรมการกองทุนกำลังใจฯ เป็นประธานการประชุมติดตามการดำเนินงานโครงการกำลังใจฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก  
พลอากาศเอก สมคิด สุขบาง กล่าวเปิดประชุม และได้พูดถึงการลงพื้นที่ในครั้งนี้ว่า เป็นภารกิจการติดตามการดำเนินงานของโครงการกำลังใจฯ ซึ่งจะเน้นการพัฒนาอาชีพ ตามแนวทางของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ โดยจุดเริ่มต้นมาจากที่ทรงเห็นว่า ผตข.หญิงมีโอกาสถูกเอาเปรียบ ถูกบังคับให้ค้ายาเสพติด จึงทำให้จำนวนผตข.คดียาเพสติดมีมากถึงร้อยละ ๗๐ และเมื่อวานทุกท่านจะเห็นว่า เรือนจำไม่น่ากลัวอย่างที่คิด มีแต่ความสะอาด และยกตัวอย่างการบำบัดน้ำเสียที่ทำอย่างง่ายๆ แต่ได้ผล รวมทั้งการปล่อยน้ำออกสู่เรือนจำชั่วคราวซึ่งกลาวเป็นบ่อน้ำเลี้ยงปลา และเป็นพื้นที่ให้ผู้มาดูงานได้ให้อาหารปลา 
ทรงวางรากฐานงานในด้านต่างๆ ให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และยกตัวอย่างการนำเสนอผลงานในงานโครงการหลวงฯ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จผ่านร้าน INSPIRE และทรงสนพระทัย และรับสั่งว่า “โครงการของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ทำไว้ดีอยู่แล้ว ขอให้รักษาไว้ซึ่งเป็นกำลังใจให้กับผู้ปฎิบัติงาน รวมทั้งเพื่อประโยชน์ต่อกรมรราชทัณฑ์ และสังคมโดยรวม” ทั้งนี้ คณะกรรมการกองทุนกำลังใจฯ ประชุมร่วมกับ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก โดยพลอากาศเอก สมคิดฯ เล่าให้ที่ประชุมฟังถึง ภารกิจโครงการกำลังใจฯ รวมทั้งงานที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ทรงทำในหลายโครงการ อาทิเช่น โครงการราชทัณฑ์ปันสุขฯ, โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์, การช่วยเด็กในสถานพินิจฯ และจากที่เข้าไปในเรือนจำ จะเห็นถึงความสะอาด และบรรยากาศในภาพรวมที่ไม่น่ากลัว ชึ่งมาจากที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ทรงงานในโครงการกำลังใจฯ และทรงผลักดันข้อกำหนดกรุงเทพฯ 

ชึ่งเป็นมาตรฐานการดูแลผู้ต้องขังหญิง และต่อมาทรงเห็นปัญหาสุขภาพของผู้ต้องขัง จึงกลายเป็นโครงการราชทัณฑ์ปันสุขฯ จากนั้น ได้ขอบคุณผู้อำนวยการวิทยาลัย และคณะอาจารย์ ที่เข้าไปช่วยสอนหลักสูตรต่างๆ และได้เสนอแนะให้ ผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงฯ หารือผู้อำนวยการวิทยาลัย เพื่อเข้ามาสอนเพิ่มเติมในเรื่องต่างๆ เช่น การเงิน, การเป็นเจ้าของธุรกิจ, การขายของออนไลน์, ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ /ต่อยอดผลิตภัณฑ์, การตัดเย็บ/ซ่อมเสื้อผ้า, การเตรียมพร้อมทำงานในสถานประกอบการ (การแต่งกาย, การสื่อสารบุคลิกภาพ เป็นต้น) และหากมีการสอนนิติศาสตร์ในวิทยาลัยก็อาจเชิญมาให้ความรู้กับผู้ต้องขัง ท้ายสุด ได้เยี่ยมบ้านคนต้นแบบ นส.วัชราภรณ์ฯ ซึ่งปัจจุบันประกอบอาชีพขายอาหารตามสั่ง เครื่องดื่ม สินค้าเบ็ดเตล็ดในหมู่บ้าน มีรายได้วันละ 700 - 1,200 บาท โดยเคยกระทำความผิดคดียาเสพติด และได้รับการพักโทษเมื่อ 12 มิถุนายน 2566 และปัจจุบันติด EM และอยู่ในความดูแลของสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดพิษณุโลก 
โดยได้รับทุนจากกองทุนสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) จำนวน  20,000 บาท เมื่อ 8 สิงหาคม 2567 ซึ่งนำมาซื้อของใช้เบ็ดเตล็ดมาจำหน่ายในร้านและจากการสอบถาม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และอบต. ซึ่งเป็นเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วย แจ้งว่า คนต้นแบบ และสามี ได้กลับตัวเป็นคนดี และชุมชนพร้อมให้โอกาสและไม่รังเกียจ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ที่ให้โอกาส ให้ทุน และให้อาชีพ #โครงการกำลังใจฯ #กองทุนกำลังใจฯ

ภาพ/ข่าว: โครงการกำลังใจ
ทีมข่าวNEWS24:รายงาน

แสดงความคิดเห็น