พลตรี นรธิป โพยนอก ผู้บัญชาการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี เป็นประธานในกิจกรรมการประสานเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อพัฒนาความมั่นคงในพื้นที่ชุมชนชายแดน จังหวัดบึงกาฬ ประจำปีงบประมาณ 2567 ภายใต้ชื่อกิจกรรม “การรวมพลังประชาชน” ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจัดจาก เครือข่ายมวลชน ในพื้นที่ อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ รวม 500 คน ตามแผนงานโครงการของฝ่ายกิจการพลเรือน ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ประจำปี 2567 เป็นการดำเนินการประสานเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อพัฒนาความมั่นคงในพื้นที่ ด้านการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงไปสู่ประชาชนในพื้นที่ชายแดน โดยมี นายวินัย โตเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ พันเอก สุภัทร ชูตินันทน์ รองผู้บังคับการกองบังคับการควบคุมที่ 2 (ร.13), พ.อ.อุทัย นิลเนตร รอง ผบ.ร.3/รอง เสธ กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี, พ.อ.อินทราวุธ ทองคำ ผู้บัญชาการหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 21 นายทวี ชิณรงค์ นายอำเภอปากคาด พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการร่วมให้การต้อนรับ
ผู้บัญชาการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรักความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันปลูกจิตสำนึกให้การช่วยเหลือกันเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤต จากปัญหาภัยคุกคามรูปแบบต่างๆ ที่ต้องเผชิญ อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนพื้นที่ชายแดนเป็นเสริมสร้างจิตสำนึกด้านความมั่นคง ครอบคลุมถึงการป้องกันแก้ไขปัญหาความมั่นคงปลอดภัยและการเป็นพลเมืองที่ดี โดยประชาชน ชุมชน องค์กรเอกชน และองค์กรของรัฐเข้ามามีส่วนร่วมสร้างความตระหนักรู้ ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสถาบันหลักของชาติ รวมถึงผลกระทบจากปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่มีต่อประเทศชาติ และยึดมั่น ในสถาบันหลักของชาติ และตั้งปณิธานในการมีส่วนร่วม ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความมั่นคง ในพื้นที่ชายแดน อันจะสร้างเกราะคุ้มกันให้กับประเทศชาติสืบต่อไป
เดวิท โชคชัย มุกดาหาร รายงาน 092-5259777ผู้บัญชาการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรักความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันปลูกจิตสำนึกให้การช่วยเหลือกันเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤต จากปัญหาภัยคุกคามรูปแบบต่างๆ ที่ต้องเผชิญ อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนพื้นที่ชายแดนเป็นเสริมสร้างจิตสำนึกด้านความมั่นคง ครอบคลุมถึงการป้องกันแก้ไขปัญหาความมั่นคงปลอดภัยและการเป็นพลเมืองที่ดี โดยประชาชน ชุมชน องค์กรเอกชน และองค์กรของรัฐเข้ามามีส่วนร่วมสร้างความตระหนักรู้ ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสถาบันหลักของชาติ รวมถึงผลกระทบจากปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่มีต่อประเทศชาติ และยึดมั่น ในสถาบันหลักของชาติ และตั้งปณิธานในการมีส่วนร่วม ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความมั่นคง ในพื้นที่ชายแดน อันจะสร้างเกราะคุ้มกันให้กับประเทศชาติสืบต่อไป
แสดงความคิดเห็น