วันที่ 20 กรกฎาคม 2567 ที่วัดพระงาม พระอารามหลวง อำภอเมือง จังหวัดนครปฐม ได้จัดให้มีพิธีตักบาตรข้าวหลาม ประเพณีเก่าแก่ที่สูญหายไปกว่า 100 ปี โดยมีพระอุดมธรรมเวที เจ้าอาวาสฯ นำคณะสงฆ์ออกรับบิณฑบาต ฉลองศรัทธาของสาธุชน โดยเดินลงมาจากเนินเขาวัดพระงาม และมีชาวพุทธในชุมชนและพื้นที่ข้างเคียง นำข้าวหลาม ขนมไทย และสิ่งของอื่นๆ มานั่งรอตักบาตรอยู่ด้านล่าง นับเป็นภาพที่สวยงาม ที่สร้างความประทับใจให้กับชาวพุทธที่มาร่วมพิธี ต่างยกโทรศัพท์มือถือขึ้นมาบันทึกภาพวเป็นที่ระลึก และหาดูยากในปัจจุบัน บางคนก็เตรียมหาข้าวหลามมาจากบ้าน บางคนก็มาซื้อที่ในวัด ซึ่งมีพ่อค้าในชุมชนนำข้าวหลามมาให้บริการกับชาวพุทธในราคาย่อมเยา เพื่อร่วมสืบสานประเพณีตักบาตรข้าวหลามของชุมชนวัดพระงาม
ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เปิดเผยว่า ข้าวหลามเป็นอาชีพของชาวบ้านในชุมชนวัดพระงามมาตั้งแต่สมัยโบราณ ทำข้าวหลามมาขายให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาไหว้พระขอพรที่องค์พระปฐมเจดีย์ แต่ด้วยวิถีการดำรงชีวิตของคนในยุคปัจจุบันเปลี่ยนไป หันมาตักบาตรด้วยข้าวสวยที่หาซื้อง่าย การตักบาตรด้วยข้าวหลามจึงค่อยๆหายไป มหาวิทยาลัยราชภัฎ จึงได้ร่วมกับผู้นำชุมชน ฟื้นฟูประเพณีตักบาตรข้าวหลาม อาจเป็นหนึ่งเดียวของประเทศไทย นอกจากได้ความรักสามัคคีของขุมชนแล้ว ยังช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกทางหนึ่งด้วย  ส่วนข้าวหลามที่ได้จากการตักบาตร ท่านเจ้าอาวาสก็แบ่งปันไปให้กับโรงเรียน โรงพยาบาล ผู้ยากไร้ ผู้พิการ ชาวพุทธนอกจากได้ทำบุญแล้ว ยังได้ส่งต่อความช่วยเหลือไปให้กับผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการด้วย
นายเสวก ประดับแก้ว อายุ 52 ปี อาชีพทำข้าวหลาม เล่าว่า ข้าวหลามยายไผ่ ปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 4 ยายเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อน ชุมชนวัดพระงาม หลายคนทำข้าวหลามและออกไปขายให้กับคนที่ไหว้พระ ที่องค์พระปฐมเจดีย์ แต่เมื่อถึงวันสำคัญทางพุทธศาสนา แม่ค้าก็นำข้าวหลามที่ขาย ทำบุญใส่บาตรที่วัดพระงาม ก่อนจะไปขายให้กับคนที่มาไหว้พระที่องค์พระปฐมเจดีย์ จึงเป็นที่มาของประเพณีตักบาตรข้าวหลาม

 ปนิทัศน์ มามีสุข   นส.ปณิดา มามีสุข จ.นครปฐม 092-5462794

แสดงความคิดเห็น