วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 เวลา  ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจติดตามการปฏิบัติการฝนหลวงในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยมี 

นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร พร้อมด้วยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่ให้การต้อนรับ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับฟังรายงานการปฏิบัติการฝนหลวงในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในช่วงที่ผ่านมา พร้อมมอบนโยบายแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาฝนทิ้งช่วง และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ในการปฏิบัติภารกิจให้เกิดความสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี รวมถึงพบกับผู้แทนเกษตรกร ผู้แทนผู้ประกอบการค้าข้าว

เพื่อการรับฟังปัญหาอุปสรรคในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และนำมาใช้เป็นแนวทางในการวางมาตรการให้ความช่วยเหลือจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากนั้นได้มอบเมล็ดข้าวพันธุ์ดีให้แก่ผู้แทนเกษตรกร สำหรับนำไปแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรที่ยังไม่สามารถหว่านข้าวได้ในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากพื้นที่นั้นมีสภาพแห้งแล้งเกินไป รวมถึงเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้งจนได้รับความเสียหายจากการหว่านข้าว 

พร้อมมอบโฉลดเพื่อการเกษตรให้แก่ผู้แทนเกษตรกร จำนวน 100 ราย 

ต่อยอด ให้เกิดการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และความมั่นคงในชีวิต

โดย ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงและความต้องการน้ำของพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ที่เกิดขึ้น จึงได้สั่งการให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร โดยศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดบุรีรัมย์ จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดสุรินทร์ ณ ท่าอากาศยานสุรินทร์ภักดี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

มีเครื่องบินประจำการสำหรับการปฏิบัติการฝนหลวงชนิด CARAVAN จำนวน 4 ลำ และได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเพาะปลูกเป็นหลัก ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นเขตอับฝนในช่วงฤดูฝน ประกอบกับลักษณะของดินในพื้นที่เป็นดินร่วนปนทรายที่ไม่สามารถอุ้มน้ำได้ จึงส่งผลให้จำนวนเกษตรกรขอรับบริการฝนหลวงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี และจากการปฏิบัติการฝนหลวงที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม – 29 มิถุนายน 2567 ได้มีการขึ้นบินปฏิบัติการจำนวน 59 วัน ทำให้มีฝนตกในพื้นที่รวม 34 วัน ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ยโสธร และจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งทำให้เกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้สามารถเตรียมแปลงสำหรับการเพาะปลูกรอบฤดูกาลผลิตในปีนี้ได้แล้ว








 อัศววัฒน์  พัฒน์ทองกนก 

แมน ธีระนิช

จ.สุรินทร์  รายงาน

แสดงความคิดเห็น