ความขาดแคลนพยาบาลในระบบบริการสุขภาพ เป็นปัญหาที่ซับซ้อน และสะสมมายาวนาน จนอาจส่งผล กระทบต่อนโยบายของรัฐบาลในการยกระดับให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ (Wellness & Medical Hub) รวมทั้งการขยายและการเพิ่มศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพเพื่อรองรับและตอบสนองความ ต้องการของประชาชน ซึ่งสาเหตุหลักของการขาดแคลนพยาบาลในประเทศไทย ประกอบด้วย 1) ศักยภาพการ ผลิตไม่เพียงพอ/ไม่ทันต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งการตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของสังคมสูงวัย และ การเร่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 2) การสูญเสียพยาบาลออกจากวิชาชีพจากการเกษียนอายุ และการลาออกไปประกอบอาชีพอื่น รวมทั้งการไหลออกไปทำงานต่างประเทศ เนื่องจากปัญหาภาระงานหนัก ขาดความก้าวหน้าในการทำงาน และค่าตอบแทนไม่เหมาะสมกับภาระงานและความรู้ความสามารถ
ปัจจุบันมีพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานให้บริการสุขภาพ (Healthcare service) ทั้งภาครัฐทุกสังกัดและ เอกชน ทั้งหมดในประเทศไทยประมาณ 2.1 แสนคนหรือเฉลี่ยประมาณ 1:310 ประชากร ในจำนวนนี้ ทำงานใน หน่วยบริการสังกัด กระทรวงสาธารณสุขประมาณร้อยละ 60 โรงพยาบาลเครือข่ายกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์ (UHOS-Net) ประมาณร้อยละ 16 หน่วยบริการภาคเอกชนประมาณร้อยละ 14 และอีกประมาณร้อยละ10 ทำงานในหน่วยบริการสังกัดภาครัฐอื่นๆรวมทั้งท้องถิ่น
แต่ด้วยยังมีความเหลื่อมล้ำของการกระจายตัวของพยาบาลวิชาชีพ ทั้งในเชิงพื้นที่ และขีดความสามารถ ของหน่วยบริการ ร่วมกับการสูญเสียพยาบาลจากการเกษียณอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึงประมาณปีละ 7,000 คนใน ระยะ 5 ปีข้างหน้า และการลาออกพยาบาลในกลุ่มอายุ 45-50ปี ซึ่งเป็นผู้มีทักษะสูง เนื่องจากภาระงานหนัก ค่าตอบแทนไม่เหมาะสม และขาดความก้าวหน้าในการทำงาน รวมทั้งการเปลี่ยนอาชีพและการเคลื่อนย้ายไป ทำงานต่างประเทศของพยาบาลรุ่นใหม่ ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้อัตราการสูญเสียพยาบาลออก จากระบบเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ประเทศไทยขาดแคลนพยาบาลอยู่ถึง 80,000 คน เมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการของประเทศ
Home กรุงเทพฯ ข้อเสนอเชิงนโยบาย เสนอต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) เรื่อง การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพยาบาลในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ โดย สภาการพยาบาล ในการประชุมคณะกรรมการสภาการพยาบาล วันที่ 15 กรกฎาคม 2567
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น
(
Atom
)
แสดงความคิดเห็น