สนับสนุนให้เยาวชนมีบทบาทเป็นผู้นำในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่การบริจาคโลหิต ส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นจุดศูนย์กลางในการบริจาคโลหิต เพื่อให้ได้รับปริมาณโลหิตบริจาคเต็มตามจำนวนที่คาดหวัง และเพื่อให้การจัดหาโลหิตของประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ต่อไป
นายภาคภูมิ จักกะพาก ผู้ช่วยผู้อำนวยการธุรกิจสุกรภาคเหนือตอนบน บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การอบรม “ทำดี ทำง่าย ให้เลือด” ตามโครงการเครือเจริญโภคภัณฑ์สนับสนุนเยาวชนไทยให้โลหิต ประจำปีการศึกษา 2567 (ปีที่ 24) เครือเจริญโภคภัณฑ์มีความเจริญเติบโตในการดำเนินธุรกิจ ครบ 100 ปี โดยมีปฎิธานมุ่งมั่น สร้างความเจริญให้ประเทศไทย
ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนและบริหารงานธุรกิจด้วยหลักคุณธรรมมาอย่างต่อเนื่องสำหรับความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น เครือเจริญโภค-ภัณฑ์ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะงานบริการโลหิต ซึ่งมีความสำคัญต่อการรักษา พยาบาลให้ประชาชนหายจากการเจ็บป่วย ปลูกฝังเยาวชนที่เป็นต้นกล้าที่แข็งแรงให้มีความรู้ ความเข้าใจในงานบริการโลหิต เพื่อเป็นผู้บริจาคโลหิตต่อไปในอนาคต จึงได้จัดทำโครงการ เครือเจริญโภคภัณฑ์สนับสนุนเยาวชนไทยให้โลหิต ด้วยแนวคิด “ทำดี ทำง่าย ให้เลือด” ดำเนิน การมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2543 จนถึงปัจจุบัน กว่า 24 ปี นับว่าประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง โดยได้รับความร่วมมือจากสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษาและพณิชยการ ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ อย่างเต็มที่ ซึ่งการอบรมครั้งนี้ โครงการเครือเจริญโภคภัณฑ์สนับสนุนเยาวชนไทยให้โลหิต ประจำปีการศึกษา 2567 จังหวัดเชียงราย ในวันนี้ เป็นจังหวัดลำดับที่ 5 ต่อจาก จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น และหนองคาย มีคุณครูและนักเรียนเข้ารับการอบรม จำนวน 155 คน จากสถานศึกษา จำนวน 6 แห่ง โดยได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจาก เหล่ากาชาดจังหวัดเชียงรายภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 10 จังหวัดเชียงใหม่ และสถานศึกษาทุกแห่ง
สำหรับช่วงการอบรม ได้จัดให้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับการบริจาคเลือด คุณสมบัติ/การเตรียมตัวก่อน – หลังการบริจาคโลหิต กรุ๊ปเลือดจะต่างกัน แต่เลือดเราปลอดภัยนะ ระบบหมู่โลหิต การตรวจหมู่โลหิต และการตรวจคัดกรองโลหิต เลือด 1 ถุง เอาไปทำอะไรต่อ ส่วนประกอบของโลหิตและผลิตภัณฑ์โลหิต ให้เลือดแล้วภูมิใจสุดๆ ประโยชน์ของเลือดที่มีต่อผู้ป่วย และความภาคภูมิใจที่ได้รับจากการบริจาคโลหิต ชมวิดิทัศน์/บรรยาย/สาธิตการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่องช็อคหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ฝึกปฎิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) การใช้เครื่องช็อคหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) อีกด้วย
แสดงความคิดเห็น