วันนี้ (29 มี.ค. 67) เวลา 13.30 น. ณ ห้องwarroom ชั้น5 กรมการพัฒนาชุมชน
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานปิดโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 25 – 29 มีนาคม 2567 ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting 

โดยนายสยาม ศิริมงคล อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มอบหมายให้นายสมาน พั่วโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันการพัฒนาชุมชน พร้อมผู้อำนวยการกลุ่มงานในสังกัด ร่วมพิธีปิดโครงการอบรมพร้อมร่วมรับฟังการดำเนินกิจกรรมอบรมในระบบออนไลน์ ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน รวมจำนวน 10 แห่ง ร่วมกันนำเสนอแผนการขับเคลื่อนโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในระดับพื้นที่

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปณิธานที่มุ่งมั่นในการทำให้ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งคนมหาดไทยในฐานะราชสีห์ผู้ภักดีต่อแผ่นดินที่มุ่งมั่นทำหน้าที่เป็นข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีอุดมการณ์หลักในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระองค์ท่าน ด้วยการบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนสร้าง “ทีมอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน” ทั้งนี้ โครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 

โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้แก่นายอำเภอที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่และผู้แทนภาคีเครือข่ายในพื้นที่ทุกภาคส่วนให้ได้รับการบ่มเพาะองค์ความรู้ และมีความเข้าใจในหลักการทรงงานและการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติราชการและขยายผลเพื่อ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ “การสร้างทีมที่ดี ต้องมี “ผู้นำ” ดึงภาคีเครือข่ายที่มีจิตอาสาเข้ามาร่วมกันทำงานด้วยเป้าหมายเดียวกัน คือ “เพื่อประชาชน” เราทุกคนทำหน่วยเดียวกรมเดียวไม่ได้ ต้องมี “ทีม” และจะมีทีมแค่ข้าราชการในหน่วยเดียวกันไม่ได้ ต้องเป็นทีมจาก 7 ภาคีเครือข่าย คือ ภาคราชการ ภาคผู้นำศาสนา ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคสื่อสารมวลชน อันเป็นการน้อมนำหลักการทรงงาน “บวร บรม ครบ” คือ บ้าน วัด (ทุกศาสนา) และราชการ ที่เป็นหลักในการสร้างสันติสุข สร้างความผาสุกให้กับสังคมไทย เพื่อสร้างสายสัมพันธ์ความร่วมแรงร่วมใจกันของวัด ชุมชน และภาคีเครือข่ายในท้องถิ่นด้วยอุดมการณ์ร่วมกัน คือ ศรัทธาปสาทะในบวรพระพุทธศาสนา และทำให้วัดเป็นสถานที่สัปปายะแก่ผู้เข้ามาพึ่งพา บำบัดทุกข์และเสริมสร้างความสุขทั้งแก่กายและใจ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาการ Disruption ทางความคิด วิถีชีวิต และสังคม”


นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวในช่วงท้ายว่า เราทุกคนต้องสร้างทีมที่มีใจ มีความรู้ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เกิดขึ้น ด้วยการช่วยกันสร้างความรัก ความศรัทธา ด้วยรังสีความดีที่แผ่ไปรอบข้าง แล้วดึงดูดเอาผู้คนจาก 7 ภาคีเครือข่ายมารวมตัวกันเป็นทีม ร่วมกันคิด ร่วมพูดคุยปรึกษาหารือ ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์ อย่างต่อเนื่อง ไม่ทำแบบไฟไหม้ฟาง ลงไปสร้างทีมทุกระดับ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ให้มีความยั่งยืน ด้วยการไปทำให้เขารัก กระตุ้นปลุกเร้า และยุยงให้พี่น้องประชาชนรวมกลุ่มเป็นคุ้มบ้าน หย่อมบ้าน ป๊อกบ้าน กลุ่มบ้าน ด้วยการมุ่งเป้าพัฒนาที่คน เพื่อให้คนพัฒนาพื้นที่ พัฒนาชุมชน พัฒนาหมู่บ้าน ดูแลความปลอดภัย มีความรักสามัคคี เสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหาร รักษาสิ่งแวดล้อม บริหารจัดการขยะ จัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ทำให้ลูกหลานได้รับการศึกษาทั้ง “พลศึกษา” ด้วยการบ่มเพาะทักษะการใช้ชีวิต รู้จักหุงข้าว ล้างจาน ทำกับข้าว เข้าวัด รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ควบคู่กับ “ปัญญาศึกษา” คือ การศึกษาตามระบบ ตามหลักสูตรการศึกษา ทำให้คนในชุมชนมีการสืบสานศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี อันจะทำให้ทุกหมู่บ้านเป็น “หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” ท้ายนี้ ขอให้ทุกคนนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปช่วยกันสร้างทีมให้มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ไปสร้างระบบคุ้ม ป๊อก หย่อม บ้าน ให้เป็นรูปธรรม และสำหรับข้อเสนอในวันนี้ ตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นต้นไม้เเห่งปัญญา ช่วยทำให้ความคิดสร้างสรรค์ เกิดการต่อยอดเเละขยายต่อไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตพี่น้องประชาชน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ทุกมิติ ทำให้เกิดสิ่งที่ดีเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง สร้างสรรค์สังคมแห่งความสุขที่ยั่งยืนไปด้วยกัน
โดยช่วงระหว่างการอบรมจำนวนทั้ง 5 วัน ได้มีการบรรยาย เสวนา ให้ความรู้เกี่ยวกับ อำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข บูรณาการอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการการจัดทำแผนแม่บทการขับเคลื่อนงานพื้นที่จากการจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาพื้นที่แบบบูรณาการ โดยได้รับเกียรติอย่างสูงจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ อาจารย์คณิต ธนูธรรมเจริญ ข้าราชการบำนาญข้าราชการพลเรือน ในสังกัดสำนักพระราชวัง และอาจารย์พิเศษ สาขาพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยแม่โจ้, รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ปรึกษาอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ที่ปรึกษาอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง และผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ปรึกษาอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ที่ปรึกษาอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

นอกจากนี้ ในระหว่างเข้ารับการอบรม ผู้เข้าอบรม ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนทั้ง 10 แห่งทั่วประเทศ ได้ร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสาเอามื้อสามัคคีและกิจกรรมประกาศเจตนารมย์วันดินโลก เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมวันดินโลกอย่างต่อเนื่อง  ตามแนวทางกระทรวงมหาดไทยโดยได้กำหนดหัวข้อการจัดกิจกรรมวันดินโลกภายใต้กระทรวงมหาดไทยว่า “Sustainable Soil and Water for better life ดินดี น้ำดี ชีวีมีสุข อย่างยั่นยืน” เพื่อกระตุ้นส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมกันดูแลรักษาดินและน้ำอย่างเหมาะสม อีกด้วย


ภาพ/ข่าว :  สถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาขุมชน
ทีมข่าวNEWS24:รายงาน

#กรมการพัฒนาชุมชน
#CDD
#WorldSoilDay
 #วันดินโลก
#UN 
#FAO 
#GlobalSoilPartnership 
#MOI
#กระทรวงมหาดไทย 
#บำบัดทุกข์บำรุงสุข
#SoilandWaterasourceoflife
#SustainableSoilandWaterforbetterlife
#ดินดีน้ำดีชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน
#SDGsforAll 
#ChangeForGood

แสดงความคิดเห็น