นายทวีศักดิ์  อนรรฆพันธ์   ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม   กล่าวถึงการเดินทางลงพื้นที่ โครงการจ้างเหมาก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3  ส่วนที่  1 งานก่อสร้างทางทะเล  ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา  จังหวัดชลบุรี   ว่า   ได้รับมอบหมายจากรัฐมนช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม  นางมนพร  เจริญศรี  ให้ลงมาติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของของผู้รับจ้างและเร่งรัดให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้มีการกำหนดใว้ โครงการนี้รัฐบาลโดยเฉพาะท่านนายกรัฐมนตรีนายเศรษฐา  ทวีสิน    ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก  ในการเดินทางไปต่างประเทศทุกครั้งก็ได้นำโครงการนี้ไปขายและเชิญชวนนักลงทุนทุกครั้ง  และที่สำคัญโครงการนี้จะสามารถสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ในอนาคตอย่างยั่งยืน

จากการติดตามงานตั้งแต่รัฐบาลชุดท่านนายกเศรษฐา ทวีสินและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นางมนพร  เจริญศรี ได้เข้ามาเร่งรัดการทำงานจากผู้รับเหมาการก่อสร้างเป็นระยะ ๆ    และสามารถแก้ปัญหาข้อติดขัดต่าง ๆของโครงการไปได้ด้วยดีมาตลอดมาเพราะรัฐมนตรีช่วยว่าการคมนาคมได้มอบหมายให้ตนพร้อมทีมงานลงพื้นที่  ทุกเดือน ๆละ 2 ครั้ง   เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาต่าง  ๆ  ที่ผู้รับเหมาะติดขัดไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐในการประสานงานกับการท่าเรือ , กรมเจ้าท่า หรือแม้แต่หน่วยงานอื่น ๆ  ที่เกี่ยวกับกระทรวงคมนาคมหรือนอกกระทรวงก็ตาม   “ สิ่งไหนที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานเพื่อให้งานสำเร็จ  และไม่ผิดระเบียบราชการ   ข้อบังคับต่าง ๆ   ตนเองพร้อมที่จะประสานงานให้  เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย และประชาชนได้ประโยชน์   “   นายทวีศักดิ์   กล่าว 

ด้านนายเจษฎา  ชูชาติ  ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการกิจการร่วมค้า CNNC   กล่าวว่า  ตั้งแต่เดือนตุลาคม  พ.ศ.  2566 ที่ผ่านมาซึ่งนายกรัฐมนตรี  นายเศรษฐา   ทีวีสิน  และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นางมนพร   เจริญศรี  ได้เข้ามาตรวจเยี่ยมการทำงานของโครงการท่าเรือจนถึงวันนี้ต้องบอกว่าสามารถดำเนินการไปได้ตามเป้าหมาย   ไม่ว่าจะเป็นการถมทะเล การขนหิน  และที่สำคัญปัญหาต่าง ๆ  ที่ติดขัดก็ได้รับการประสานงานและได้รับการช่วยเหลือเป็นอย่างดีจากรัฐบาล  ต้องขอขอบคุณทุกหน่วยงาน  เชื่อว่าโครงการหน้าจะเสร็จทันตามเป้าหมายของโครงการ    

โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เป็นโครงการเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือเพื่อรองรับความต้องการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เป็นก่อสร้างท่าเทียบเรือสำหรับจอดเรือน้ำลึก
และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ รวมทั้งการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง (Single Rail Transfer  Operator, SRTO) ก่อสร้างท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรภายในท่าเรือตลอดจนโครงข่ายและระบบการขนส่งต่อเนื่องที่จำเป็นในเขตพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบังที่จะเชื่อมต่อกับภายนอกให้เพียงพอและพร้อมที่จะรองรับการขยายตัวของปริมาณเรือและสินค้าประเภทต่าง ๆ    เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าจาก 11  ล้านตู้ต่อปี  เป็น 18  ล้านตู้ต่อปี    ที่สำคัญเป็นการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าของภูมิภาคอินโดจีน  ( Hub Port )  ในการเปิดประตูการที่สำคัญของภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ( Gateway Port)   และพร้อมเป็นท่าเทียบเรือระดับโลก ( World  -Class Port )   












 

แสดงความคิดเห็น