เมื่อเวลา 09.30 น. ของวันที่ 26 มีนาคม 2567 ที่ห้องประชุมโรงพยาบาลนครนายก ชั้น 4 นายแพทย์ชาติชาย คล้ายสุบรรณ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครนายก เป็นประธานในการบรรยายพิเศษความเป็นมาของอาคารสูติ-นรีเวชกรรม โดยมีคุณวิทยา พาณิชตระกูล อาจารย์พรพรรณ โภไคยอุดม ดร.วันชัย ศิริชนะ คุณศิริวรรณ พานิชตระกูล พร้อมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน เข้าร่วมฟั่งการบรรยายสรุปการเป็นมาของอาคาร สูติ-นรีเวชกรรม จากนั้นได้เดินทางไปเปิดอาคารสูติ-นรีเวชกรรม เยี่ยมชมอาคารสูติ-นรีเวชกรรม พร้อมถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึกเป็นอันเสร็จพิธี
ด้วยโรงพยาบาลนครนายก ได้ทำการเปิดบริการรักษาผู้ป่วยเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2497 โดยทุนการสร้างโรงพยาบาลนครนายก มาจากเงินบริจาค เงินบำรุงท้องที่และจากกรมการแพทย์ ปี 2506 ได้มีพิธีเปิดใช้อาคาร สูติกกรม ด้วยความกรุณาของนางชุนกี ศิลาทอง ต่อมาได้มีการก่อสร้างอาคารสูติ-นรีเวชกรรม หลังใหม่ในปี 2527 ด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาล 3,570,000 บาท แต่เนื่องจากระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 30 ปี ทำให้ตัวอาคารชำรุดทรุดโทรม และมีปัญหาทางโครงสร้างของอาคาร เช่นหลังคารั่วซึม ฉนวนความร้อนเสื่อม ทำให้ภายในหอผู้ป่วยมีความร้อน ระบบน้ำมีการรั่วซึม ท่อน้ำเป็นสนิม พื้นที่ต่างๆมีคราบฝังแน่นไม่สามารถทำความสะอาดได้
ระบบก๊าซทางการแพทย์ไม่สมบูรณ์โดยชั้นบนไม่มี Pipe line และที่สำคัญสภาพแวดล้อมไม่ได้ตามเกณฑ์มาตราฐานของกระทรวงสาธารณสุข ในบางจุด เช่นมีความจำเป็นต้องใช้ทางเข้าออก ทางเดียวกัน ซึ่งไม่ถูกหลักการป้องกันการติดเชื้อ ไม่มีห้องแยกสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากระบบทางเดินหายใจ
โดยคณะผู้บริหารโรงพยาบาลนครนายก จึงพิจารณามีความเห็นว่าควรจะมีการปรับปรุงอาคาร สูติ-นรีเวชกรรม ให้ได้ตามมาตราฐาน ทั้งนี้การปรับปรุงอาคาร สูติ-นรีเวชกรรม เป็นเงินบริจาค จากผู้ใจบุญรวม 17 ล้านบาท โดยได้รับการออกแบบ จากบริษัทสถาปนิก หนึ่งร้อยสิบ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ออกแบบโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยไม่คิดมูลค่าการออกแบบใดๆ อาคาร สูติ-นรีเวชกรรม ได้รับการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย และเปิดให้บริการในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นตึกคลอด มีการแบ่งพื้นที่เป็นโซน ได้แก่โซน Clem Corridor , service Corridor , staff Corridor มีห้องแยกสำหรับผู้คลอดที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ ส่วนชั้นบนเป็นหอพักผู้ป่วยหลังคลอดและนรีเวช มีห้องพิเศษรวม 2 ห้องมีห้องอาบน้ำลูก ห้องสอนสุขศึกษา และห้องประชุมเรียนรู้ ทั้งได้มีการปรับระบบ Pipe line ใหม่ทั้งอาคาร ระบบไฟฟ้า แสงสว่าง สัญญาณไวไฟ ระบบ Lan ระบบความปลอดภัยด้านกล้องวงจรปิด ระบบกริ่งจากเตียงผู้ป่วยมาที่ Nurse Station และระบบป้องกันอัคคีภัยความรุนแรงเป็นต้น
สมบัติ เนินใหม่//รัชชานนท์ เนินใหม่//ผู้สื่อข่าวจังหวัดนครนายก
แสดงความคิดเห็น